วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

วิจัยในชั้นเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ (พค๒๑๐๐๑) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ชื่อเรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน กศน. ตำบลดอนเตย อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม
ชื่อผู้วิจัย นายชาญชัย นาศรีทม
ตำแหน่ง ครูกศน.ตำบลดอนเตย
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๗

ความสำคัญของปัญหา
จากการที่ผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้สอนรายวิชาคณิตศาสตร์(พค๒๑๐๐๑) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องคำนวณ นักศึกษาจะรู้สึกเบื่อหน่ายได้ง่าย ผู้วิจัยได้สังเกตการเรียนการสอน พบว่า จากการที่ผู้วิจัยได้ถ่ายทอดความรู้ให้นักศึกษาในการพบกลุ่ม มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด ใบความรู้ และแบบทดสอบย่อย พบว่านักศึกษาไม่สามารถทำแบบฝึกหัด และทำแบบทดสอบย่อยได้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดโดยเฉพาะเรื่องของเศษส่วน ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้น เกิดจากการที่นักศึกษาบางคนเรียนรู้ได้ช้า และมีพื้นฐานความรู้ความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน ผู้วิจัยจึงได้หาวิธีการที่จะจูงใจให้นักศึกษามีความสนใจ และกระตุ้นให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นมากขึ้น โดยผู้วิจัยจึงได้สร้างแบบฝึกทักษะรายวิชาคณิตศาสตร์ (พค๒๑๐๐๑) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน มาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน โดยที่นักศึกษาสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง หรือสอบถามเพื่อนที่เรียนด้วยกัน ทำให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระเป็นอย่างดี จนส่งผลให้เกิดการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์การวิจัย
                   ๑. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะรายวิชาคณิตศาสตร์
(พค๒๑๐๐๑)ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนของนักศึกษา กศน.ตำบลดอนเตย  อำเภอนาทมจังหวัดนครพนม
                  ๒ .เพื่อให้นักศึกษาสามารถแก้ปัญหาเศษส่วนได้
                  ๓. นักศึกษามีความก้าวหน้าโดยได้คะแนนหลังการใช้แบบฝึกทักษะมากกว่าคะแนนก่อนการใช้แบบฝึกทักษะเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ30

        ตัวแปรที่ศึกษา
                - ตัวแปรต้น ได้แก่การใช้แบบฝึกทักษะรายวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน
               - ตัวแปรตาม ได้แก่ความสามารถในการแก้ปัญหาเศษส่วน

นิยามคำศัพท์เฉพาะ
          แบบฝึกทักษะ หมายถึงสื่อที่ใช้ฝึกทักษะในด้านการคำนวณหาคำตอบการแก้ปัญหาเศษส่วนรายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อให้นักศึกษาเกิดความชำนาญ คล่องแคล่ว ถูกต้องและรวดเร็ว
      
    นักศึกษา หมายถึง นักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้นที่ลงทะเบียนรายวิชาคณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ ๒ /๒๕๕๗ กศน.ตำบลดอนเตย อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม
           ความสามารถในการใช้แบบฝึกทักษะ หมายถึงคะแนนที่ได้จากการตอบแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้น

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
           ๑. นักศึกษามีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนดีขึ้น
           2. ได้แบบฝึกทักษะรายวิชา คณิตศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน
           3. ได้แนวทางในการพัฒนาทักษะความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ในเนื้อหาสาระอื่นๆ

วิธีดำเนินการวิจัย / วิธีดำเนินการแก้ปัญหา
          กลุ่มเป้าหมาย
               กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น กศน.ตำบลดอนเตย
อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ ๒
/ 255๗  จำนวน
๖ คน ซึ่งมีปัญหาการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนโดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด

         เครื่องมือในการแก้ไขปัญหา
            - แบบฝึกทักษะ รายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน

ลำดับขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ

             1.) ศึกษาเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแบบฝึกทักษะ รายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน
             2.) ทำการทดลองเสร้างแบบฝึกทักษะรายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนและสร้างแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน
             3.) นำแบบฝึกทักษะรายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนและแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนที่สร้างเสร็จแล้ว ไปให้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบ ให้ข้อเสนอแนะ
            4.) แก้ไขปรับปรุงแบบฝึกทักษะรายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนและแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนให้สมบูรณ์เพื่อจะนำไปใช้จริงต่อไป
             5.) นำแบบฝึกทักษะรายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน และแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนไปทดลองใช้กับกลุ่มนักศึกษาตัวอย่างที่
กศน.ตำบลหนองซน ปรากฏว่านักศึกษากลุ่มตัวอย่างดังกล่าวมีความเข้าใจและมีความกระตือรือร้นในการศึกษาแบบฝึกทักษะเป็นอย่างดี ส่งผลให้เกิดการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดียิ่งขึ้น

             6.) พัฒนาเครื่องมือด้านขนาดของตัวอักษร และจัดทำรูปแบบให้สวยงาม พร้อมที่จะนำไปใช้เก็บข้อมูล 

เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
              - แบบฝึกทักษะรายวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนของนักศึกษา
              - แบบทดสอบก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะ (เป็นแบบทดสอบชุดเดียวกัน)

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

            ผู้วิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยการใช้แบบฝึกทักษะ รายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านดอนเตย กศน.อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม ที่ลงทะเบียนเรียน วิชาคณิตศาสตร์
ภาคเรียนที่
2/ 57  จำนวน 6  คน ที่มีปัญหาการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนโดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
            1. ผู้วิจัยอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจถึงจุดประสงค์ของการทำงานวิจัยในครั้งนี้หลังจากนั้นให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน เป็นการบวกและการลบอย่างละ 4 ข้อ การคูณและการหาร จำนวน 2 ข้อ และการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน จำนวน 3 ข้อ รวม 15 ข้อ  (วันที่ 20 พ.ย.57)  โดยกำหนดเวลาในการทำแบบทดสอบ
            2. ให้นักศึกษาศึกษาความรู้จากแบบฝึกทักษะรายวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนโดยมีครูอธิบายในส่วนที่ไม่เข้าใจจากนั้นให้นักศึกษาทำแบบฝึกทักษะรายวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน จนครบตามเนื้อหาสาระที่กำหนดให้ด้วยตัวเอง
            3.ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบหลังเรียนโดยกำหนดเวลาในการทำแบบทดสอบ 45 นาที จากนั้นผู้วิจัยทำการตรวจแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแจ้งผลคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนให้นักศึกษาทราบ และสรุปผลการวิจัย 

สถิติ ที่ใช้และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ
         ผลการวิจัย
          ตารางแสดงผลเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์

ที่
ชื่อ-สกุล
คะแนนก่อนเรียน
(50 คะแนน)
คะแนนหลังเรียน
(50 คะแนน)
คะแนนความก้าวหน้า
ร้อยละของคะแนนความก้าวหน้าของผลการเรียน
1
นางสาวจุฬารัตน์  วงษา
20
40
+20
40
2
นายเพลิน  ดีพรม
20
40
+20
40
3
นางสาวหนูเย็น  ขาวสลัก
15
40
+35
70
4
นายณัฐพงษ์  สุรินพา
20
40
+20
40
5
นางสาวชมัยพร  โจมบุญ
20
40
+20
40
6
นางสาวนพปรีญา  บรรไพ
15
40
+35
70
คะแนนรวม
110
240
150
300
คะแนนเฉลี่ย
18.33
40
25
50

จากการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
             จากตารางพบว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน และ คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 18.33 และ 40คะแนน ตามลำดับ โดยมีค่าร้อยละความก้าวหน้าของผลการเรียนร้อยละ 50 สูงขึ้นกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ (ร้อยละ 30) แสดงว่านักศึกษาที่เรียนจาก แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

การสะท้อนการวิจัย
             ผู้บริหาร
             ระยะเวลาค่อนข้างสั้น ผู้วิจัยมีความมุ่งมั่นพยายาม ทำให้รูปเล่มน่าสนใจ สามารถใช้ได้กับนักศึกษาระดับเดียวกัน ที่กศน.ตำบลอื่นๆโดยปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

             ผู้วิจัย
             1 . การพัฒนาตนเอง คือ ผู้วิจัยได้เข้าใจถึงกระบวนการและขั้นตอนการทำวิจัยมากขึ้น
             2. ทำให้ผู้วิจัยได้ทราบถึงปัญหาของนักศึกษา ว่าเหตุใดนักศึกษาส่วนใหญ่ จึงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ในรายวิชาคณิตศาสตร์โดยเฉพาะเรื่องเศษส่วน
             3. ผู้วิจัยสามารถแก้ปัญหา เฉพาะที่ เฉพาะจุด เฉพาะเรื่อง โดยการนำผลการวิจัยไปแก้ปัญหาได้ทันท่วงที
             4. ผู้วิจัยมีนวัตกรรมการสอนเพิ่มขึ้น

             เพื่อนร่วมวิจัย
             แบบฝึกทักษะสรุปองค์ความรู้ได้ครบถ้วนน่าสนใจ จัดกิจกรรมได้เหมาะสม สร้างความสนใจให้นักศึกษาได้ดี
 

             ผู้เรียน
             ชอบที่ได้เรียนจากแบบฝึกทักษะ เนื่องจากทำให้เข้าใจง่ายและได้ประสบการณ์ตรง สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

             การเผยแพร่งานวิจัย 
             ผู้วิจัยได้เผยแพร่ลงในเว็บไซต์ กศน.จังหวัด กศน.อำเภอ และเว็บบล็อก เพื่อทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไป
 
http://chanchai428.blogspot.com   นายชาญชัย นาศรีทม โทร ๐๘๗๔๙๔๘๗๗๗

             แนวทางการพัฒนา
ในโอกาสต่อไปจะพัฒนาแบบฝึกทักษะให้ดีกว่านี้และจะทำในเนื้อหาสาระอื่นต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น