วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รายงานการวิจัย

วิจัยในชั้นเรียน หมวดวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ชื่อเรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านดอนเตย ตำบลดอนเตย
อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม
ชื่อผู้วิจัย นายชาญชัย นาศรีทม
ตำแหน่ง ครูศูนย์การเรียนุมชน
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553



ความสำคัญของปัญหา

จากการที่ผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้สอนหมวดวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องคำนวณ นักศึกษาจะรู้สึกเบื่อหน่ายได้ง่าย ผู้วิจัยได้สังเกตการเรียนการสอน พบว่า จากการที่ผู้วิจัยได้ถ่ายทอดความรู้ให้นักศึกษาในการพบกลุ่ม มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด ใบความรู้ และแบบทดสอบย่อย พบว่านักศึกษาไม่สามารถทำแบบฝึกหัด และทำแบบทดสอบย่อยได้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดโดยเฉพาะเรื่องของเศษส่วน ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้น เกิดจากการที่นักศึกษาบางคนเรียนรู้ได้ช้า และมีพื้นฐานความรู้ความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน ผู้วิจัยจึงได้หาวิธีการที่จะจูงใจให้นักศึกษามีความสนใจ และกระตุ้นให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นมากขึ้น โดยผู้วิจัยจึงได้สร้างแบบฝึกทักษะหมวดวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน มาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน โดยที่นักศึกษาสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง หรือสอบถามเพื่อนที่เรียนด้วยกัน ทำให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระเป็นอย่างดี จนส่งผลให้เกิดการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดียิ่งขึ้น



วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะหมวดวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนของนักศึกษา ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านดอนเตย ตำบลดอนเตยอำเภอนาทม จังหวัดนครพนม

2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถแก้ปัญหาเศษส่วนได้

3. นักศึกษามีความก้าวหน้าโดยได้คะแนนหลังการใช้แบบฝึกทักษะมากกว่าคะแนนก่อนการใช้แบบฝึกทักษะ เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 25



ตัวแปรที่ศึกษา

- ตัวแปรต้น ได้แก่ การใช้แบบฝึกทักษะหมวดวิชา คณิตศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น

เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน

- ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถในการแก้ปัญหาเศษส่วน

นิยามคำศัพท์เฉพาะ

แบบฝึกทักษะ หมายถึง สื่อที่ใช้ฝึกทักษะในด้านการคำนวณหาคำตอบการแก้ปัญหาเศษส่วน หมวดวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อให้นักศึกษาเกิดความชำนาญ คล่องแคล่ว ถูกต้องและรวดเร็ว

นักศึกษา หมายถึง นักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียน ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้นที่ลงทะเบียนหมวดวิชาคณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 /2553 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านดอนเตย ตำบลดอนเตย อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม

ความสามารถในการใช้แบบฝึกทักษะ หมายถึงคะแนนที่ได้จากการตอบแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้น



ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. นักศึกษามีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนดีขึ้น

2. ได้แบบฝึกทักษะหมวดวิชา คณิตศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน

3. ได้แนวทางในการพัฒนาทักษะความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ในเนื้อหาสาระอื่นๆ



วิธีดำเนินการวิจัย / วิธีดำเนินการแก้ปัญหา

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านดอนเตย กศน.อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม ที่ลงทะเบียนเรียนหมวดวิชาคณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 / 2553 จำนวน 10 คน ซึ่งมีปัญหาการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนโดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด

เครื่องมือในการแก้ไขปัญหา

- แบบฝึกทักษะ หมวดวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน

ลำดับขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ

1.) ศึกษาเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแบบฝึกทักษะ หมวดวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน

2.) ทำการทดลองเสร้างแบบฝึกทักษะหมวดวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนและสร้างแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน

3.) นำแบบฝึกทักษะหมวดวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนและแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนที่สร้างเสร็จแล้ว ไปให้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบ ให้ข้อเสนอแนะ

4.) แก้ไขปรับปรุงแบบฝึกทักษะหมวดวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนและแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนให้สมบูรณ์เพื่อ

จะนำไปใช้จริงต่อไป

5.) นำแบบฝึกทักษะหมวดวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน และแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนไปทดลองใช้กับกลุ่มนักศึกษาตัวอย่างที่ กศน.ตำบลหนองซน ปรากฏว่านักศึกษากลุ่มตัวอย่างดังกล่าวมีความเข้าใจและมีความกระตือรือร้นในการศึกษาแบบฝึกทักษะเป็นอย่างดี ส่งผลให้เกิดการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดียิ่งขึ้น

6.) พัฒนาเครื่องมือด้านขนาดของตัวอักษร และจัดทำรูปแบบให้สวยงาม พร้อมที่จะนำไปใช้เก็บข้อมูล



เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

- แบบฝึกทักษะหมวดวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนของนักศึกษา

- แบบทดสอบก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะ(เป็นแบบทดสอบชุดเดียวกัน)



วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยการใช้แบบฝึกทักษะ หมวดวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านดอนเตย กศน.อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม ที่ลงทะเบียนเรียน วิชาคณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1/ 53 จำนวน 10 คนที่มีปัญหาการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนโดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

1. ผู้วิจัยอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจถึงจุดประสงค์ของการทำงานวิจัยในครั้งนี้หลังจากนั้นให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน เป็นการบวกและการลบอย่างละ 4 ข้อ การคูณและการหาร จำนวน 2 ข้อ และการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน จำนวน 3 ข้อ รวม 15 ข้อ (วันที่ 22 ส.ค. 53) โดยกำหนดเวลาในการทำแบบทดสอบ

2. ให้นักศึกษาศึกษาความรู้จากแบบฝึกทักษะหมวดวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนโดยมีครูอธิบายในส่วนที่ไม่เข้าใจจากนั้นให้นักศึกษาทำแบบฝึกทักษะหมวดวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน จนครบตามเนื้อหาสาระที่กำหนดให้ด้วยตัวเอง

3.ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบหลังเรียนโดยกำหนดเวลาในการทำแบบทดสอบ 45 นาที จากนั้นผู้วิจัยทำการตรวจแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแจ้งผลคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนให้นักศึกษาทราบ และสรุปผลการวิจัย





สถิติที่ใช้และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ

ผลการวิจัย

ตารางแสดงผลเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์

ลำดับที่ ชื่อ - สกุล คะแนน

ก่อนเรียน

( 30 คะแนน) คะแนน

หลังเรียน

( 30 ะแนน) คะแนนความก้าวหน้า ร้อยละของคะแนนความก้าวหน้าของผลการเรียน

1 น.ส.วรรณภา แสงคำเรือง 12 26 +14 46.66

2 น.ส.นิศากร วงษา 14 24 +10 33.33

3 น.ส.ผ่องศรี ศรีนาทม 14 28 +14 46.67

4 น.ส.นิตยา โพธิ์คง 18 28 +10 33.33

5 นายวินัย วงษา 16 26 +10 33.33

6 นายทรงฤทธิ์ กวนสมบัติ 16 24 +8 26.67

7 นางสมพาน โพธิ์สว่าง 14 26 +12 40

8 นางบุญหลาย น้อยนาง 12 26 +14 46.66

9 น.ส.จิตรา เกิดชาวนา 16 24 +8 26.67

10 นายอภิชาต โพธิ์คง 18 26 +8 26.66

คะแนนรวม 150 258 +108 359.98

คะแนนเฉลี่ย 15 25.80 +10.80 35.99



จากการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

จากตารางพบว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน และ คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 15 และ25.80 คะแนน ตามลำดับ โดยมีค่าร้อยละความก้าวหน้าของผลการเรียนร้อยละ 35.99 สูงขึ้นกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ (ร้อยละ 25 ) แสดงว่านักศึกษาที่เรียนจาก แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น







การสะท้อนการวิจัย

ผู้บริหาร

ระยะเวลาค่อนข้างสั้น ผู้วิจัยมีความมุ่งมั่นพยายาม ทำให้รูปเล่มน่าสนใจ สามารถใช้ได้กับนักศึกษาระดับเดียวกัน ที่ศูนย์การเรียนอื่นๆโดยปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย



ผู้วิจัย

1 . การพัฒนาตนเอง คือ ผู้วิจัยได้เข้าใจถึงกระบวนการและขั้นตอนการทำวิจัยมากขึ้น

2. ทำให้ผู้วิจัยได้ทราบถึงปัญหาของนักศึกษา ว่าเหตุใดนักศึกษาส่วนใหญ่ จึงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ในหมวดวิชาคณิตศาสตร์โดยเฉพาะเรื่องเศษส่วน

3. ผู้วิจัยสามารถแก้ปัญหา เฉพาะที่ เฉพาะจุด เฉพาะเรื่อง โดยการนำผลการวิจัยไปแก้ปัญหาได้ทันท่วงที

4. ผู้วิจัยมีนวัตกรรมการสอนเพิ่มขึ้น



เพื่อนร่วมวิจัย

แบบฝึกทักษะสรุปองค์ความรู้ได้ครบถ้วนน่าสนใจ จัดกิจกรรมได้เหมาะสม สร้างความสนใจให้นักศึกษาได้ดี



ผู้เรียน

ชอบที่ได้เรียนจากแบบฝึกทักษะ เนื่องจากทำให้เข้าใจง่ายและได้ประสบการณ์ตรง สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้



การเผยแพร่งานวิจัย

ผู้วิจัยได้เผยแพร่ลงในเว็บไซต์ กศน.จังหวัด กศน.อำเภอ และเว็บบล็อก เพื่อทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไป

http://chanchai428.blogspot.com/



แนวทางการพัฒนา

ในโอกาสต่อไปจะพัฒนาแบบฝึกทักษะให้ดีกว่านี้และจะทำในเนื้อหาสาระอื่นต่อไป